นพ.ศุภศิษฏ์ จิรวัฒโนทัย
รอ.นพ. พิชาญศักดิ์ บุญมาศ
22 พ.ค. 60
แผลเป็นที่นูนแดงมี 2 แบบ คือ
ส่วนแผลเป็นคีลอยด์ มักจะเกิดกับผู้ที่มีผิวสีเข้ม ในตำแหน่งที่เกิดได้บ่อย ได้แก่ หัวไหล่ ติ่งหูและกลางหน้าอก ส่วนหนึ่งพบในผู้ป่วยที่มีประวัติทางพันธุกรรม ภายในเนื้อแผลเป็นคีลอยด์นี้มีการสร้างสารที่เรียกว่า คอลลาเจน มากเกินกว่าปกติจนกลายเป็นก้อนนูนโตขึ้นช้าๆ ลักษณะคล้ายเนื้องอกก็ว่าได้
มาถึงคำถามที่ว่าแผลเป็นนูนแดงเหล่านี้สามารถใช้เลเซอร์รักษาได้หรือไม่ ในปัจจุบันการรักษาแผลเป็นนูนแดงที่ดีที่สุด อาจต้องทำหลายๆอย่างควบคู่กัน ได้แก่
ส่วนยาทาต่างๆ ที่เราคุ้นเคยกันตามท้องตลาดในทางการแพทย์แล้วยังถือว่าไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนว่ารักษาแผลเป็นได้ดีขึ้นจริง
สรุปแล้วเมื่อเป็นแผลเป็นนูนแดง ต้องแยกให้ออกก่อนว่าเป็นแผลเป็นนูนเกิน หรือเป็นคีลอยด์ เพื่อปรับการรักษาให้เหมาะสม ทั้งนี้ควรปรึกษาศัลยแพทย์ตกแต่งเพื่อตรวจประเมินลักษณะแผลเป็นให้ชัดเจน เลเซอร์เพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถทำให้แผลเป็นหายไปได้ แต่เป็นเพียงตัวช่วยให้ดีขึ้นได้บ้างเท่านั้น ทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันการเกิดแผลเป็น หากมีแผลแล้ว ถ้าได้รับการรักษาดูแลอย่างถูกต้องโอกาสเกิดแผลเป็นก็จะน้อยลง
Laser คือ แสงมีความยาวแสงที่แตกต่างกัน ทำให้มีพลังงานตั้งแต่ สูง กลาง ต่ำ หากจะใช้ร่วมในการรักษาแผลเป็น มักจะใช้กลุ่มพลังงานต่ำ โดยมีความเชื่อว่า จะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นให้เซลส์ทำงานดีขึ้น ผ่านกลไกเคมีภายในตัวเซลส์ เกิดการแบ่งตัวและเชื่อว่าทำให้เกิดการซ่อมแซมที่ดีขึ้น หรือในกลุ่มที่มีพลังงานปานกลาง อาจช่วยลดความเข้มของเม็ดสี กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน หรือใช้รักษาแผลเป็นที่มีเส้นเลือดฝอยเล็ก ในขณะที่เลเซอร์กลุ่มที่มีพลังงานสูงมักจะเป็นการทำลาย ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ร่วมกับการดูแลแผลเป็นที่มีโอกาสได้ประโยชน์
โดยสรุป โดยทั่วไปร่างกายมีกลไกตามธรรมชาติที่ช่วยให้แผลเป็นมีคุณภาพที่ดีขึ้นอยู่แล้ว ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 6 เดือน ถึง 1 ปี ดังนั้นไม่ควรจะรีบร้อน แต่ควรปฏิบัติตามหลักการดูแลเบื้องต้นที่แพทย์แนะนำก่อน เลเซอร์ ไม่ใช่เป็นแนวทางแรกในการให้การรักษา แต่จะเลือกใช้ในแผลเป็นบางลักษณะ และเลือกใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น ควรปรึกษาแพทย์ที่ได้ตรวจและทราบประวัติการเปลี่ยนแปลงของแผลเป็นมาก่อน ไม่ควรทดลองทำตามโฆษณา เพราะจะทำให้กลไกการหายและปรับตัวตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นตามปกติ ของแผลเป็นถูกขัดจังหวะ อาจทำให้เกิดผลเสีย และเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น